โรงเรียนนอกกะลากับการบ่มเพาะ “ปัญญาภายใน”
ปัญญาภายใน
หรือความฉลาดด้านในหมายรวมถึงความฉลาดทางด้านจิตวิญญาณ (SQ) และความฉลาดทางด้านอารมณ์ (EQ) ซึ่งได้แก่
การรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง
และสิ่งต่างๆ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีเป้าหมายและมีความหมาย
การอยู่ด้วยกันอย่างภารดรภาพ ยอมรับในความแตกต่าง เคารพ
และให้เกียรติกันและกัน การมีวินัย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม อยู่อย่างพอดีและพอใจได้ง่าย
การมีสติอยู่เสมอ รู้เท่าทันอารมณ์เพื่อให้รู้ว่าต้องหยุด หรือไปต่อกับสิ่งที่กำลังเป็นอยู่ มีความสามารถจัดการอารมณ์ตนเองได้
การมีสัมมาสมาธิ
เพื่อกำกับความเพียรให้การเรียนรู้หรือการกระทำภาระงานให้ลุล่วง มีความอดทนทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
การเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างตนเองกับสิ่งต่างๆ
นอบน้อมต่อสรรพสิ่งที่เกื้อกูลกันอยู่
การมีจิตใหญ่มีความรักความเมตตามหาศาล
กระบวนทัศน์ของ “จิตศึกษา”
1.
การใช้จิตวิทยาเชิงบวก
2.
การสร้างชุมชนและวิถีของชุมชน
3.
การจัดกระทำผ่านกิจกรรมและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของจิตศึกษา
การใช้จิตวิทยาเชิงบวก
กรอบคิดทางจิตวิทยาเชิงบวกคือ ศรัทธาในความดีงามของมนุษย์
และบ่มเพาะผู้เรียนให้มีคุณค่าที่ดีงามซึ่งมีอยู่แล้วให้งอกงามยิ่งขึ้น โดยปฏิบัติต่อผู้เรียนอย่างมนุษย์ที่มีคุณค่าและมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน
การกระทำทีควรลด เพื่อไม่ให้เป้ฯการทำลายคุณค่าความเป็นมนุษย์ของเด็ก
ๆ ซึ่งมีมาอยู่แล้ว
ทั้งยังเป็นการลดการให้อาหารกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ดีหรืออารมณ์ด้านลบที่อยู่ภายในจิตของเด็กๆ
เพื่อให้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ดีเหล่านั้นไม่เติบโต
-
ลดการเปรียบเทียบ
-
ลดการตีค่า การตัดสิน
และการชี้โทษ
-
ลดการหลอกล่อด้วยความอยากอันเป็นเงื่อนไขต่อความรัก
-
ลดการสร้างภาพของความกลัวเพื่อการควบคุม
-
ลดคำพูดด้านลบ
-
เลิกใช้ความรุนแรง
สิ่งที่ควรทำสำหรับจิตวิทยาเชิงบวก
เพื่อให้อาหารแก่เมล็ดพันธุ์ดีในจิตใจให้งอกงาม
เพื่อให้เด็กทุกคนรู้สึกได้ว่าตนเองมีคุณค่า ได้รับความรัก
และมีความสามารถ
การปรับพฤติกรรมเชิงบวก ให้การรู้ตัว
ให้การเรียนรู้ และให้การฝึกฝน
การสร้างชุมชนและวิถีชุมชน
การสร้างชุมชนที่สะอาดร่มรื่น สวยงาม
ปลอดภัย
ใกล้ชิดธรรมชาติทั้งดิน ลม แสงแดด
ต้นไม้
และอยู่ห่างไกลจากสิ่งรบกวนภายนอก นอกจากสภาพแวดล้อมในชุมชน (โรงเรียน)
แล้วการที่เจ้าหน้าที่และครูที่เป็นกัลยาณมิตรที่คอยเกื้อหนุนให้คำแนะนำและให้ความรักความเมตตาก็มีความสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงทางจิตใจของเด็ก
สัมพันธภาพของคนในชุมชนมีผลมากที่สุดต่อบรรยากาศทั้งหมดภายในชุมชน การปฏิบัติในวิถีของโรงเรียนต้องทำอย่างมีความหมาย มีเหตุมีผลและคงเส้นคงวา
ในขณะเดียวกันโรงเรียนต้องตระหนักอยู่เสมอว่าผู้ปกครองทุกคนมีส่วนเกื้อกูลต่อความก้าวหน้าของเด็ก
การสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการอย่างหลากหลาย จะช่วยให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญต่อการพัฒนาในเชิงจิตวิญญาณซึ่งเป็นสิ่งนาม
ธรรม ในที่สุดผู้ปกครองจะเข้ามามากขึ้นพร้อมจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในโรงเรียน เมื่อผู้ปกครองได้เรียนรู้วิถีชุมชนจากบทเรียนที่เกิดขึ้นจริงภายในโรงเรียนผู้ปกครองก็จะนำกลับไปสู่ชุมชนจริงของตนเอง
ธรรม ในที่สุดผู้ปกครองจะเข้ามามากขึ้นพร้อมจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในโรงเรียน เมื่อผู้ปกครองได้เรียนรู้วิถีชุมชนจากบทเรียนที่เกิดขึ้นจริงภายในโรงเรียนผู้ปกครองก็จะนำกลับไปสู่ชุมชนจริงของตนเอง
การจัดกระทำผ่านกิจกรรมและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจิตศึกษา
การจัดกิจกรรมจิตศึกษามีการจัดกิจกรรม 2 รูปแบบดังนี้
รูปแบบที่ 1 การจัดกิจกรรมในคาบเวลาของ “จิตศึกษา”
ใช้เวลาประมาณ 20
นาทีในภาคเช้าก่อนการเรียนการสอนวิชาอื่น
ตัวอย่าง
-
กิจกรรมที่มุ่งเสริมสร้างพลังสงบ ให้เกิดความสงบภายใน และการผ่อนคลาย
-
กิจกรรมที่มุ่งให้เกิดสติ
เพื่อให้เด็กได้มีการชำนาญการในการกลับมารู้ตัวได้เสมอ
-
กิจกรรมฝึกสมาธิและการจดจ่อ
ให้เด็กมีความสามารถในการคงสมาธิได้ยาวขึ้นเพื่อกำกับความเพียรทั้งการเรียนรู้และการทำงานให้สัมฤทธิ์ผล
-
กิจกรรมที่มุ่งให้เห็นความเชื่อมโยง เห็นคุณค่าของตัวเอง คนอื่น
หรือสิ่งอื่น
-
กิจกรรมที่มุ่งให้เกิดการบ่มเพาะจิตสำนึกที่ดีงาม
-
กิจกรรมที่มุ่งบ่มเพาะพลังความรักความเมตตา
รูปแบบที่ 2 การบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจิตศึกษาในหน่วยการเรียนหลัก ตัวอย่าง
-
การเรียนรู้จักรวาลวิทยา (Cosmology)
เพื่อให้เห็นและตระหนักรู้ว่าตัวเราเล็กนิดเดียว โลกเราเล็กนิดเดียว
-
การเรียนรู้และสัมผัสนิเวศแนวลึก (Deep Ecology) เพื่อจะได้ตระหนักว่า จักรวาลหรือโลกคือศูนย์กลาง ไม่ใช่มนุษย์
สิ่งต่างๆ มีคุณค่าในตัว
ไม่ได้มีคุณค่าเพราะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์
ทุกสิ่งมีประโยชน์
-
การร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
-
การได้ปฏิบัติงานศิลปะ ดนตรี
หรือการละคร
เพื่อการเข้าถึงความรู้สึกอันละเอียดอ่อนด้านในของมนุษย์
-
การได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทางสังคม จิตอาสา
และการบำเพ็ญประโยชน์
-
การได้ใช้กิจกรรมการรับรู้และการรับฟังอย่างลึกซึ่งที่เป็นการสื่อสารแนวราบ เน้นการฟังอย่างมีคุณภาพ
ไม่เน้นการตัดสิ้น
กระบวนการนี้จะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และแก้ปัญหาร่วมกัน